Monday, 6 May 2024
ผศ.ดร.ธานินท์ คงศิลา

Non Degree เพื่อการ Re skill & Up skill การเรียนรู้ตลอดชีวิต ในช่วงสถานการณ์ Covid19

แนวโน้มที่คาดการณ์กันว่า ในอนาคตมหาวิทยาลัยทุกแห่งจะประสบปัญหามีผู้เรียนลดจำนวนลงหลายแห่ง จึงเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ด้วยการนำระบบการเรียนแบบออนไลน์ มาช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการเรียนการสอน เปิดสาขาวิชาทางเลือกเฉพาะกลุ่ม และหันไปสอนหลักสูตรระยะสั้นให้คนในวัยทำงาน หรือกระทั่งคนในวัยเกษียณมากขึ้น หรือเปิดโอกาสให้คนวัยทำงาน เข้ามาสังเกตการณ์การเรียนการสอนในบางวิชา


จากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในรอบปีที่ผ่านมา หลายมหาวิทยาลัยได้จำนวนผู้เรียนไม่เป็นไปตามเป้าในการรับนิสิตนักศึกษา จากเด็กที่เข้าเรียนในระบบมัธยมศึกษาจะสอบเข้าในระดับอุดมศึกษา มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนที่มหาลัยเปิดรับ แต่ในทางกลับกัน ประชาชนทั่วไปหรือคนในวัยทำงาน รวมถึงคนที่เกษียณอายุ ไปสู่ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งคนกลุ่มวัยทำงานนี้เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมถึงการนำไปสู่การหาเลี้ยงชีพของตัวเอง เห็นภาพชัดขึ้น ในช่วงปี 63 ที่ผ่านมา ที่เราเจอกับสถานการณ์ Covid19 มีผลต่อการทำงาน ของคนในวัยทำงานเป็นอย่างมากบางบริษัท


ในอนาคตก็จะมีผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาลดลง แต่จะมีกลุ่มคนทำงาน และผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้น นอกจากการสร้างบัณฑิตแล้ว สถาบันการศึกษาจำเป็นต้องมีภาระกิจในการพัฒนาคนกลุ่มนี้ ด้วยการ Reskill Upskill รวมถึงการพัฒนา New skill เพื่อการนำไปพัฒนางานเดิม ประกอบอาชีพ หรือเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการเอง 


ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัน รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต การสร้างและออกแบบ หลักสูตร Non Degree จะช่วยได้อีกทาง และหาก Non Degree ที่ได้เรียนนั้น สามารถนำไปสู่ Degree ได้ โดยมีระบบการเทียบโอน หรือ ระบบสะสมหน่วยกิต ที่เรียกว่าธนาคารหน่วยกิต (Cedit Bank) รวมถึงการเทียบโอนประสบการณ์ ก็จะเป็นการเปิดโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง  เป็นการเรียนการสอนแบบนอกเหนือจากภาคปกติ เรียนจบแล้วได้รับใบประกาศนียบัตร


หลักสูตร Non Degree เพื่อการ Re skill และ Up skill ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้น ต้องเปิดโอกาสให้แก่คนทุกวัยทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะเป็นคนวัยทำงานหรือคนวัยเกษียณ คือ เรียนวิชาที่นำไปใช้ แล้วสามารถใช้งานได้จริงสำหรับการประกอบอาชีพ ไม่ได้เน้นเชิงวิชาการหรือเชิงทฤษฎีเหมือนภาคปกติ แต่เป็นวิชาสำหรับประกอบอาชีพเสริม เช่น การทำการเกษตรแนวใหม่ การเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลาเศรษฐกิจ การเรียนที่ออกแบบขึ้นนั้น จะศึกษาความต้องการของตลาดเราจะทำผลิตภัณฑ์อะไรที่ตอบโจทย์กับตลาด หลังจากนั้น ก็เริ่มลงมือปฎิบัติจริง หรือเรียนรู้ในสถานประกอบการ เป้าหมายของการเรียน คือ คิดเป็น วางแผนเป็น และแก้ปัญหาเป็น สู่การเป็นผู้ประกอบการ และสามารถสร้างรายได้ ได้อีกด้วย


วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ ม.เกษตร เปิด Non Degree รองรับคนทุกช่วงวัย หลายชุดวิชา อาทิ ชุดวิชาการสร้างความสุขของสังคมผู้สูงวัย เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยากทำธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งต้องมีจิตวิทยาในการดูแลผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุมีความสุข เพื่อตอบโจทย์สังคมสูงวัย อีกกลุ่มก็คือหลักสูตรการดูแลเด็กปฐมวัยช่วงก่อนเข้าโรงเรียน สำหรับโรงเรียนอนุบาลภาคเอกชนที่มักจะไม่ค่อยมีอาจารย์ที่จบทางด้านปฐมวัย หรือด้านศึกษาศาสตร์โดยตรง


“วิชาเหล่านี้สามารถนำไปสะสมเป็นปริญญาตรีอีก 1 ใบได้ หลักสูตร Non Degree เราให้หน่วยกิตไว้ประมาณ 20 หน่วย และเรามีโครงการธนาคารหน่วยกิต ซึ่งเมื่อคุณจบ 1 ชุดวิชา แล้วคุณก็จะเก็บหน่วยกิตได้ 20 หน่วย และเมื่อคุณเรียนเพิ่มอีก 1 ชุดวิชา ก็จะได้อีก 20 หน่วย โดยใครที่จบปริญญาตรีมาแล้ว ก็สามารถใช้เทียบเป็นอีก 1 ปริญญาได้เลย”


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

ศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สู่ การพัฒนาบัณฑิตในยุค Disruptive

กลไกการขับเคลื่อนประเทศไทยมุ่งสู่ Thailand 4.0 ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ชาติระยาว 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) และแผนการศึกษาแห่งชาติ (2560 - 2579) ต่างก็ให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน

เนื่องจากการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำพาประเทศไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว โดยมีเป้าหมายของคุณลักษณะของคนไทย 4.0 ต้องเป็นคนไทยที่มีความรู้ มีทักษะและความสามารถสูง มีจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคม เป็นคนไทยที่เท่าทันดิจิทัล และเป็นคนไทยที่มีความเป็นสากล

ซึ่งการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม การพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถสูง ที่เน้นเรื่องของคุณภาพการศึกษา และการศึกษาทุกช่วงวัย สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศที่เป็นรูปธรรม อันประกอบด้วย การสร้างพลเมืองเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน การปฏิรูปการจัดทำหลักสูตร การปฏิรูปอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา การปฏิรูปกระบวนการและวิธีการจัดการเรียนรู้ การปฏิรูปการวิจัย การกระจายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และการส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา อันเป็นการปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม

ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเข้มแข็งของสังคม ความสมดุลของสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางอาหาร จากปัญหาในการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา รวมถึงการกำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงกับประชาคมโลก ตามแนวคิด “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” จึงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตบัณฑิต โดยจะต้องมีการพัฒนาหลักสูตรที่มีความทันสมัย มีการบูรณาการการเรียนการสอนที่หลากหลายศาสตร์

รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ เพื่อตอบสนองความต้องการของโลกสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ยุคโลกาภิวัฒน์ และยุคเศรษฐกิจดิจิทัล อันจะนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21 ที่จะสามารถผลิตบัณฑิตที่มีทักษะและความพร้อมในหลากหลายด้านเพื่อการประกอบอาชีพยุคใหม่ การสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ ตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ซึ่งประกอบด้วย การปฏิรูปการจัดทำหลักสูตร การปฏิรูปอาจารย์ การปฏิรูปกระบวนการและวิธีการจัดการเรียนรู้ การปฏิรูปการวิจัย การส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา และการกระจายโอกาสทางการศึกษา ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหลักสูตรหนึ่ง ที่มีความยึดหยุ่นต่อการจัดการศึกษา นอกจากจะเป็นหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ซึ่งผู้เรียนต้องเรียนครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตรแล้ว ยังได้มีการออกแบบการเรียนการสอนเป็นแบบชุดวิชา (module) ซึ่งเป็นการเรียนระยะสั้นใช้เวลา 1 ภาคการศึกษา (4 เดือน) ในแต่ละชุดวิชามีลักษณะเป็นวิชาชีพที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง เทียบเท่ากับ 20 หน่วยกิต ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตรในชุดวิชาที่เลือกเรียน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพหรือเริ่มต้นธุรกิจใหม่ (start-up) ได้

เนื่องจากการเรียนการสอนในแต่ละชุดวิชาเน้นการปฏิบัติจริงในพื้นที่และการปฏิบัติร่วมกับสถานประกอบการการ (work integrated learning) รวมถึงการนำระบบเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ หลักสูตรในระดับประกาศนียบัตรนี้เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างคนไทย 4.0 ซึ่งจะนำไปสู่การ Re-skill & Up-skill และการสร้าง New Skill ใหม่ ให้กับผู้เรียนได้ อันจะเป็นอาชีพได้ ซึ่งจะนำเสนอการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาคน ในรูปแบบ Non Degree สู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ต่อไป


ที่มา : https://sis.ku.ac.th/


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top